วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเภทและชนิดของสุรา

ประเภทและชนิดของสุรา



การแบ่งประเภทของสุราสามารถแบ่งได้ตามกรรมวิธีการผลิตได้หลายแบบ แต่โดยหลักแล้วจะทำการแบ่งออกมาได้ 2 แบบ ซึ้งแต่ละแบบ จะแยกย่อยอกมาได้อีกหลายชนิดคือ
1.สุราแช่ หรือหมัก (Fermented beverages) ซึ่งแบ่งออกเป็นชนิด Malt beverages ที่ได้จากการหมักผลิตผลทาง การเกษตร เช่น ธัญพืช หรือผลไม้ต่างๆ เช่น เบียร์ ไวน์ สาเกเป็นต้น
2.สุรากลั่น (Distilled หรือ Spirit beverages) ที่ได้จากการนำสุราแช่ที่ผลิตจากธัญพืช รากพืช ผลผลิตจากน้ำตาล หรือผลไม้ แล้วนำมากลั่น  เช่น วิสกี้ (Whisky) , วอดก้า (Vodka) , รัม (Rum) , บรั่นดี (Brandy), เตกิลา (Tequila)


ส่วนชนิดของเหล้าที่เกิดจากรกรรมวิธีในการกลั่น สามารถแยกออกมาได้อีกมามาย แต่หลักๆที่นักดื่มจะนิยมและรู้จักกันดีมีดังนี้


วิสกี้ (Whisky)

วิสกี้ คือสุรากลั่นที่ทำจากข้าวชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลากหลายชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด ข้าวไรน์ เป้นต้น โดยนำมาหมักแล้วกลั่นให้มีดีกรีสูงขึ้นจากนั้นจึงนำไปเก็บหมักบ่มในถังไม้โอ๊คอีกครั้ง เพื่อให้ได้สี กลิ่นและรสชาติหอมนุ่ม มีดีกรี ประมาณ 35-45% ซึ้งมีผลิตในหลายประเทศ โดยหลักๆจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.วิสกี้จากสก็อตแลนด์ (Scotch Whisky) ซึ่งเป็นสกี้ที่ดีที่สุดในโลกจากการหมักเมล็ดธัญพืชบาร์เลย์ โดยมียี่ห้อดังมากมาย เช่น Johnnie Walker, Chivas Regal, Dewars และ Glenlivet

Scotch Whisky นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.1 Scotch Blend Whisky คือการนำธัญพืชนานาชนิดมาผสมกับมอลท์ของบาร์เล่ย์ครับ ตัวอย่างเช่นยี่ห้อ Dewars กับ Red Label
1.2 Superior Blend คล้ายๆอันแรกแต่ผู้ปรุงได้เพิ่มความพิถีพิถันและใช้ปริมาณมอลท์มากกว่าปริมาณธัญพืช ตัวอย่างเช่น Black Label
1.3 Malt Whisky ทำจากมอลท์ล้วนๆ รสชาติไม่ต้องพูดถึงครับ แค่ยกขึ้นจิบก็หอมติดจมูก ผ่านคอแล้วยังหวานติดปลายลิ้น และ Malt Whisky ยังแบ่งย่อยออกมาได้อีกคือ
Single Malt คือผลิตจากโรงกลั่นเดียว เช่น Glenlivet
Blended Malt คือผลิตจากหลายๆโรงกลั่น เช่น Green และ Gold Label

2.วิสกี้จากอเมริกา (Bourbon) ซึ่งกลั่นจากการหมักเมล็ดข้าวโพด เช่นยี่ห้อ Jack Daniel, Jim Beam เป็นต้น

3.วิสกี้จากแคนนาดา (Canadian Whisky)

4.วิสกี้จากไอร์แลนด์ (Irish Whiskey)

(วิสกี้ที่ผลิตในสก๊อตแลนด์และแคนาคาเท่านั้น ที่จะใช้คำว่า “WHISKY” โดยไม่มีตัว “E”)


บรั่นดี (Brandy) 
บรั่นดี คือเหล้าที่กลั่นจากผลไม้หมัก โดยส่วนมากมักโดยจะใช้องุ่นเป็นวัตถุดิบหลักในการหมักให้เป็นไวน์(Wine)ก่อนแล้วจึงนำมาทำการกลั่นให้เป็นบรั่นดี จากนั้นจึงนำไปเก็บบ่มให้ได้ สี กลิ่นและรส อีกครั้งในถังโอ๊คซึ่งจะทำให้แอลกอฮอล์ที่มีอยู่เดิมลดลง และเมื่อยิ่งบ่มไว้นานแอลกอฮอล์ก็จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ บรั่นดีบางตัวเมื่อบ่มเกิน 50 ปีขึ้นไปจะมีแอลกอฮอล์ลดลงต่ำกว่า 40 ดีกรี และเมื่อบรรจุขวดก็จะมีแอลกอฮอล์เพียง 36 ดีกรี อันจะทำให้บรั่นดีนั้นมีความพิเศษเฉพาะ และมีความสุขุม นุ่มนวลจากการเก็บบ่มอันยาวนานนั่นเอง
โดยบรั่นดีที่มีขายตามท้องตลาด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 
1. บรั่นดีพื้นเมือง (Domestic Brandy) เช่น Regency Brandy,German Brandy.
2. บรั่นดีมาตรฐาน (Regular Brandy) ส่วนมากเป็นบรั่นดีที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
3. บรั่นดีเกรดสูง (Premium Brandy) เป็นบรั่นดีราคาแพงที่เก็บบ่มไว้ในถังไม้โอ๊กเป็นเวลานาน โดยระบุคุณภาพเป็นอักษรย่อ หรือชื่อพิเศษ เช่น คอนยัค(Cognac) หรือ (Armagnac)

คอนยัค (Cognac) ซึ่งเป็นบรั่นดีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก  ซึ่งต้องผลิตจากองุ่นพันธุ์แซง เอมีลียง (Saint-Émilion) ที่ปลูกในแคว้นคอนยัค ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิตก็จะต้องผลิตในคอนยัคเช่นเดียวกัน  คอนยัคบางชนิดจะผ่านการบ่มอันยาวนานถึง 15-25 ปีเลยทีเดียว และจากการบ่มอันยาวนานนี้จะทำให้คอนยัคชนิดนี้มีความจรุงทั้งกลิ่นและรส รวมถึงมีแทนนิน (tannin) สูงที่ได้ไม้โอ๊ค คอนยัคชนิดนี้ยังมีชื่ออื่นๆ อีกเช่น XO (extra old) Extra Vielle Grand Reserve เป็นต้น

อมายัค (Armagnac) เป็นบรั่นดีอีกชนิดหนึงที่มีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชอบไปทั่วโลก ผลิตจากองุ่นและผลิตอยู่ในแคว้นอมายัค ประเทศฝรั่งเศส มีสถานที่ผลิตสำคัญๆอยู่สามที่คือ Haut Armagnac Tènarèze และ Bas Armagnac โดยใช้พันธุ์คล้ายกันกับคอนยัคดือ Folle Blanche และ Baco 22A ซึ่งปลูกกันมากใน Saint-Émilion อมายัคจะบ่มในถังไม้โอ๊คดำ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องดื่มที่ได้จากกลั่นตัวอื่น แม้กระทั่งคอนยัคเองก็จะบ่มจากถังไม้โอ๊คขาว อมายัคจะมีการบ่มที่ยาวนานกว่าคอนยัค และสิ่งที่ไม่เหมือนคอนยัคอีกอย่างคืออมายัคจะมีการระบุปี (Vintage) นอกจากนี้ยังมีบรั่นดีอื่นๆ อีกเช่น Apple brandy ที่ผลิตจากแอปเปิ้ล รวมถึงCalvados จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Calvados du Pays d’Auge และ Eau-de-vie de Cidre



วอดก้า (Vodka) 
วอดก้า  คำว่าวอดก้ามีที่มาจากคำภาษาสลาวิกในภาษารัสเซียว่า "voda" ป็นเหล้าสีขาวใส มีกลิ่นเพียงเล็กน้อย เป็นเหล้าที่มีส่วนผสมหมักอย่างกากน้ำตาลของมันฝรั่ง ธัญพืช (โดยมากเป็นข้าวไรย์ หรือข้าวสาลี) หรือหัวบีท มีแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 35-70% ซึ้งจะมีดีกรีที่ค่อนข้างสูง

วิธีการดื่ม วอดก้า ในบ้านเเรานั้น ไม่ได้ตายตัวนัก อาจจะผสมกับอะไรก็ได้หรือนำมาผสมเป็นค๊อกเทลก็ได้ แต่ในประเทศโปรแลนด์และรัสเซียเดิม นิยมดืมเพียวๆในช่วงฤดูหนาวด้วยการนำวอดก้าไปแช่ในหิมะก่อนแล้วจึงนำมาดืมเพื่อดับหนาว แต่สำหรับวิธีการดื่มที่ได้รับความนิยมทั่วคือการนำวอดก้าไปแช่เย็น โดยนำมารินใส่แก้วช๊อด แล้วใส่น้ำแข็ง เติมเกลือนิดหน่อย ใส่มะนาวฝานบางๆ แล้วกระดกให้หมดภายในครั้งเดียว โดยให้อมน้ำแข็งและมะนาวไว้ในปาก เพื่อลดความร้อนแรงของวอดก้า

*อีกสูตรอร่อยที่กินแบบนั่งวงซึ้งผมเคยลองทำมากินกัน คือให้เตรียมเหยือกน้ำใส่น้ำแข็งไว้ให้พร้อม แล้วเติมวอดก้า น้ำสไปร์ เกลือ น้ำมะนาว คนผสมให้เข้ากันนั่งเวียนกันได้รอบวงเลยครับ
ส่วนวิธีการผสมก็แล้วแต่ชอบเลยครับว่าจะใส่มากน้อยแค่ไหน ถ้าชอบหวานไม่เน้นเผ็ดร้อนของวอดก้าก็ใส่สไปร์เยอะๆหน่อย หากต้องการอมเปรี่ยวก็เติมมะนาวเข้าไปอีก ส่วนเกลือจะช่วยในการขับความหวานของวอดก้าออกมา ไม่ควรใส่เยอะนะครับ เอาแค่พอประมาณก็พอ แต่ถ้าใครต้องการรสชาติของวอดก้าล้วนๆก็ใช้โซดาแทนสไปร์ก็ได้ หรือมิกซ์รวกกันเลยก็จะได้รสชาติที่กลมกล่อมไม่แพ้กัน อันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบนะครับ ยังไงก็ลองทำดื่มก่อนซักแก้วนะครับ



เตกีลา (Tequila)
เตกีลา เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดกลั่น ดีกรีแรง ผลิตกันในบริเวณเมืองเตกีลา (ในทางตะวันตกของรัฐฮาลิสโกของเม็กซิโก) โดยใช้วัตถุดิบคืออากาเบ (agave) เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "มาเกย์" (Maguey) ซึ่งเป็นจำพวกเดียวกับป่านศรนารายณ์ ว่านหางจระเข้ หรือดอกโคม
โดยลักษณะผลอากาเบจะมีลักษณะเหมือนผลสับปะรด ซึ่งผลหนึ่งจะมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ภายในจะมีเนื้อและน้ำฉ่ำซึ่งเหมาะแก่การหมัก โดยจะนำเอาผลไปคั้นเอาน้ำเพื่อนำไปหมัก ใช้ระยะเวลาการหมักประมาณ 2 วัน แล้วจึงนำไปกลั่น โดยปรกติเตกีลาจะไม่มีการบ่มต่อ ซึ่งจะนำไปบรรจุขวดจำหน่ายได้เลย ซึ่งจะติดฉลากเป็นไวต์เตกีลา ถ้าจะมีการหมักบ่มก็จะบ่มในถังไม้โอ๊กที่ใช้แบบเดียวกันกับวิสกี ซึ่งจะได้เตกีลาที่มีสีเหลืองอำพันที่จะมีชื่อเรียกว่า โกลด์เตกีลา ระยะเวลาการบ่มจะทำให้เตกีลามีชื่อเรียกตามอายุที่หมักบ่มว่า Anejo สำหรับเตกีลาที่บ่มอายุ 1 ปี และเรียก Muy Anejo สำหรับเตกีลาที่บ่มถึง 4 ปี เตกีลาจะมีแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 80 ปรูฟ หรือ 40 ดีกรี สำหรับเหล้าเตกีลาที่มีการจำหน่ายและนักดื่มในบ้านเรารู้จักกันดี ได้แก่ Jose Cuervo และ Monttezuma

โดยวิีธีการดื่มของชาวพื้นเมืองเม็กซิโกนั้น นิยมดื่มเหล้าตากีลาโดยไม่ผสม แต่ก่อนจะดื่ม จะหยิบเกลือใส่ปากก่อน แล้วบีบมะนาวตาม หลังจึงยกเหล้า ขึ้นดื่ม เพื่อให้รสชาติของเหล้าคลุกเคล้ากับเกลือและมะนาวในปาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น